ไฟผ่าหมาก

“ไฟผ่าหมาก ใช้ตอนไหน?” คือ คำถามกวนใจของเหล่าคนใช้รถใช้ถนน เนื่องจากในปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่ตัดสินใจใช้เปิดไฟผ่าหมากโดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ จนทำให้เพื่อนร่วมทางสับสน หากคุณอยากศึกษาวิธีการใช้ไฟผ่าหมากที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต Drive Car Rental ผู้ให้บริการเช่ารถมืออาชีพ รวบรวมมาให้คุณแล้วในบทความนี้ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูเลย!

ไฟผ่าหมาก คือ

ไฟผ่าหมาก คืออะไร?

ไฟฉุกเฉิน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไฟผ่าหมาก คือ สัญญาณไฟที่มีใช้ในรถยนต์ทุกประเภท ทำหน้าที่ส่งสัญญาณไฟให้เพื่อนร่วมทางทราบว่า รถคันที่เปิดไฟผ่าหมากกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ โดยทั่วไปปุ่มสั่งการไฟฉุกเฉินจะมีลักษณะเป็นปุ่มสี่เหลี่ยมสีแดง และมีสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านใน ติดตั้งอยู่บริเวณช่องแอร์หรือใกล้กับเครื่องเสียงรถยนต์

เมื่อไหร่จึงควรใช้ไฟผ่าหมาก?

ดังที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า หน้าที่ของไฟผ่าหมาก คือการส่งสัญญาณให้เพื่อนร่วมทางของคุณทราบว่า คุณกำลังตกประสบเหตุฉุกเฉิน ซึ่งในความเป็นจริง เหตุฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้หลายสถานการณ์ แต่สถานการณ์ที่สามารถเปิดไฟผ่าหมากได้ มีดังนี้

รถเสีย

ขับรถอยู่ดี ๆ รถก็เสียขึ้นมากะทันหัน จะดื้อรั้นขับต่อก็จนใจ แต่ถ้าจะจอดกลางถนนเฉย ๆ ก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้ หากวันหนึ่งคุณต้องประสบเหตุเช่นนี้ กฎหมายอนุญาตให้เปิดใช้งานไฟผ่าหมากหรือไฟฉุกเฉินได้ เพื่อส่งสัญญาณให้รถคันอื่น ๆ รับทราบและหลีกทางให้

เจอสิ่งกีดขวางหรืออุบัติเหตุ

อีกกรณีหนึ่งที่กฎหมายอนุญาตให้คุณเปิดไฟฉุกเฉิน คือการเจอสิ่งกีดขวางขนาดใหญ่ หรือรถของคุณต้องเจอกับอุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถได้ เพราะการเปิดไฟฉุกเฉินจะทำให้เพื่อนร่วมทางชะลอความเร็ว และขับผ่านไปได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ

ไฟผ่าหมาก ใช้ตอนไหน

ข้อควรระวังสำหรับการใช้ไฟผ่าหมาก

ปัจจุบันยังมีคนจำนวนมากเข้าใจผิดเกี่ยวกับฟังก์ชันการใช้งานของไฟผ่าหมาก เนื่องจากแต่ละคนตีความคำว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ไม่เหมือนกัน และเพื่อไม่ให้คุณต้องเผลอทำผิดกฎจราจรเพราะเหตุผลนี้ นี่คือตัวอย่างกรณีที่คุณห้ามเปิดใช้งานไฟผ่าหมากโดยเด็ดขาด!

ฝนตกหนัก

โดยปกติแล้ว เมื่อคุณกดปุ่มไฟผ่าหมาก สัญญาณไฟฉุกเฉินบริเวณจะกระพริบขึ้นทั้ง 4 มุมรอบตัวรถ และเมื่อเปิดใช้งานไฟผ่าหมากแล้ว จะไม่สามารถใช้งานไฟเลี้ยวได้ การเปิดไฟผ่าหมากตอนทัศนวิสัยไม่ดีจึงอาจทำให้เพื่อนร่วมทางเข้าใจผิดได้

ขอทางตอนข้ามแยก

แม้การเปิดไฟผ่าหมากจะทำให้มีไฟกะพริบขึ้นทั้ง 4 มุมของรถ แต่รถที่จอดอยู่ด้านซ้ายมือหรือขวามือของคุณก็จะมองเห็นไฟเฉพาะด้านนั้น จึงอาจทำให้พวกเขาเข้าใจผิดว่าคุณกำลังจะขับเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ไม่ได้จะข้ามแยก ซึ่งอาจทำให้พวกเขาไม่ได้ชะลอความเร็ว และอาจเกิดอุบัติเหตุได้

จอดทำธุระข้างถนน

เหตุฉุกเฉินที่สามารถเปิดไฟผ่าหมากได้ มีเพียงเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับรถเท่านั้น ไม่รวม “ธุระฉุกเฉิน” ของคนขับหรือผู้โดยสาร เช่น หาของที่หล่นหาย จอดคุยโทรศัพท์ หรือจอดซื้อของ เป็นต้น ดังนั้น แนะนำให้คุณจอดทำธุระดังกล่าวในปั๊มน้ำมัน ลานจอดรถ หรือบริเวณที่สามารถจอดได้ แทนการจอดรถข้างถนน

เปลี่ยนเลน

หากต้องการเพียงแค่จะเปลี่ยนเลน แนะนำให้เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวเพื่อขอทาง หลีกเลี่ยงการใช้ไฟฉุกเฉิน เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด

ไฟผ่าหมาก กฎหมาย

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟผ่าหมาก

สำหรับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟผ่าหมาก คือ กฎกระทรวงส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ข้อ 3 ที่ระบุให้รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้าง รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องมีแสงสัญญาณอันตราย มีระบบควบคุมที่แยกจากโคมไฟเลี้ยว และเมื่อให้สัญญาณเตือนอันตรายโคมไฟเลี้ยวทุกดวงต้องกะพริบพร้อมกัน ซึ่ง “ไฟฉุกเฉิน” หรือ “ไฟผ่าหมาก” ก็จัดเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ดังกล่าวนั่นเอง

เช่ารถเพื่อเดินทางอย่างปลอดภัย มั่นใจ Drive Car Rental

โดยสรุปแล้ว ไฟฉุกเฉิน หรือ ไฟผ่าหมาก คือ อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่รถแต่ละคันจะขาดไม่ได้ เพื่อป้องกันอุบัติภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ หากคุณไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ตัวเองต้องเปิดใช้งานไฟฉุกเฉินกลางทาง แต่ก็ทราบดีว่า ตนเองจำเป็นต้องใช้บริการเช่ารถ เพื่อเดินทางไปต่างจังหวัดตลอดเวลา ขอแนะนำบริการรถเช่าคุณภาพจาก Drive Car Rental เรายินดีให้บริการทั้งรถเช่ารายวันและรายเดือน มั่นใจด้วยรถใหม่อายุไม่เกิน 3 ปี ตรวจสภาพอย่างละเอียด 100% ทุกจุด พร้อมบริการกรณีเกิดเหตุตลอด 24 ชั่วโมง!

ขอบคุณข้อมูลจาก:Kapook, toyotakan